วันสำคัญประจำปี

สาระความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของไทย และของต่างประเทศ-Important day of thailand and abroad

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และมักจะตรงกับเดือนพฤศจิกายน การลอยกระทงเป็นประเพณีความเชื่อของคนสมัยโบราณที่สืบทอดกันมา และกลายเป็นวัฒนธรรมที่งดงามอย่างหนึ่งของคนไทย หน่วยงานของรัฐบาลและท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญกับการพยายามคงรูปแบบที่ดีงามของวัฒนธรรมนี้ไว้ โดยเริ่มมีการออกมาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย มิให้สิ่งแปลกปลอมนอกวัฒนธรรมเข้ามาแอบแฝงอยู่ในกิจกรรมนี้ เช่น ห้ามจุดพลุไฟ หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมแฝงในกลุ่มวันรุ่นบางอย่างก็ยังได้รับการสอดส่องดูแล วันลอยกระทงของไทยได้รับอิทธิพลมาจาก ศาสนาพราหมณ์ พบปรากฎเด่นชัดตั้งแต่ไทยโบราณสมัยสุโขทัย โดยมีความเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นการแสดงถึงความนอบน้อม ขอบคุณ และขอขมาต่อแม่น้ำ หรือพระแม่คงคา ที่เราได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกิน และขออภัยต่อการกระทำที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำเป็นต้น ตามความความเชื่อที่คนสมัยโบราณถือปฏิบัติกันในการทำพิธีลอยกระทง ได้แก่ การตัดเล็บ ตัดผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ โดยเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นการสะเดาะเคราะห์ ลอยความทุกข์เวทนา รวมถึงโรคภัยต่างๆ เสมือนว่า สิ่งร้ายๆต่างได้ลอยจากไปพร้อมกับกระทงที่ไหลไปตามสายน้ำที่ไม่มีวันย้อนคืนกลับมา   พีรทรัพย์ วิชิตรัชนีกร. (2560). ประวัติศาสตร์นอกกรอบ: ไม่ใช่แค่ ‘ไทย’ ที่มี ‘ลอยกระทง’. เข้าถึงได้จาก GQ Thailand: https://www.gqthailand.com/life/article/origins-of-loy-kratong-festival มติชนออนไลน์. (31 ตุลาคม 2561). ททท.ลุยกระตุ้นท่องเที่ยวปลายปี’60 […]

วันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 Read More »

วันส้วมโลก

องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ 19 พ.ย. ของทุกปีเป็น “วันส้วมโลก”  และมีการมอบรางวัลให้กับสุดยอดส้วมแห่งปี โดยในปีนี้รางวัลตกเป็นของ ท่าอากาศยานภูเก็ต ร.อ.ปกป้อง สุวรรณโมฬี เป็นผู้แทนเข้าร่วมงานรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2561 (World Toilet Day 2018) ภายใต้หัวข้อ “ส้วมครบวงจร…เสียงสะท้อนจากธรรมชาติ” (When Nature Calls) พร้อมรับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “สุดยอดส้วมแห่งปี 2560” รางวัลชนะเลิศ ประเภทสถานีขนส่งทางอากาศ โดยมี นพ.ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มอบรางวัลดังกล่าว ซึ่งการสรรหา สุดยอดส้วมแห่งปี 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติคุณเจ้าของส้วมสาธารณะที่ได้พัฒนาส้วมสาธารณะ เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี (ภูเก็ต เจอร์นอล, 2561) นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการแถลงข่าวรณรงค์ “วันส้วมโลก” ว่า องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 19 พ.ย. ของทุกปี เป็น “วันส้วมโลก” เพื่อให้ทั่วโลกเห็นความสำคัญเรื่องการแก้ไขปัญหาวิกฤติด้านสุขาภิบาล

วันส้วมโลก Read More »

วันออกพรรษา-พระพุทธเจ้า

วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาของพระสงฆ์ หลังจากที่ต้องอยู่ที่วัดแห่งเดียวตลอดเป็นเวลา 3 เดือน นับแต่วันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8  (หรือเดือน 9 กรณีเข้าพรรษาหลัง) ซึ่งพระสงฆ์ได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาเป็นต้นมาจนถึงวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 11 (หรือเดือน 12 ในกรณีเข้าพรรษาหลัง) ซึ่งถือว่าเป็นวันออกพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำเป็นวันที่พระสงฆ์จะประกอบพิธีสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา กำหนดไว้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต เมื่อได้เห็น ได้ฟัง หรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกันนั้น พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข ตามปกติพระสงฆ์จะสวดปาฏิโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ์ แต่เฉพาะวันออกพรรษานี้ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำปวารณาแทน ปวารณาจึงเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ของพระสงฆ์ เป็นการกล่าวประกาศในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยถือว่าเป็นการกล่าวตักเตือนกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือ และความสามัคคีในหมู่สงฆ์ (ประคอง  นิมมานเหมินท์, 2554, น. 1227) ซึ่งวันออกพรรษา นับเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาด้วยเหตุผล ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรรมแห่งชาติ, 2540) พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาต ให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ เมื่อออกพรรษาแล้ว

วันออกพรรษา Read More »

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม(Global Hand Washing Day) ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2008 ณ เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็น พร้อมกันนี้ได้มีการกำหนดให้ปี 2008 เป็นสากลแห่งการรักษาอนามัยด้วย เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลก เห็นถึงความสำคัญของการล้างมือด้วยสบู่ว่า จะช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ รวมถึงต้องการสร้างวัฒนธรรม การล้างมือให้สะอาดถูกสุขอนามัยขึ้นทั่วโลก วันล้างมือโลก จะช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือ สามารถลดโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 50% โดย องค์การยูนิเซฟ ระบุว่า ในแต่ละปีนั้นมีเด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิตจากโรคท้องร่วงถึงเกือบ 2 ล้านคน และจากโรคปอดบวมอีกราว 2 ล้านคน ซึ่งการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ถึง 50% และจากโรคปอดบวมได้อีกราว 25% ดังนั้น หัวใจหลักของ วันล้างมือโลก จึงต้องการมุ่งไปยังกลุ่มเด็กนักเรียน เพื่อหวังจะเพิ่มจำนวนเด็ก ๆ

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม Read More »

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑

 ในวันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ถือเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี หรือหากไม่มีเสื้อสีเหลือง ก็สามารถสวมเสื้อสีอื่นได้ แต่ไม่ควรสวมเสื้อสีดำ จะดูไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ได้มีการไว้ทุกข์แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดให้มีงานพระราชพิธีที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ จัดกิจกรรมบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยยึดแนวปฏิบัติเดิมที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี ๒๕๖๐ เช่น พิธีทำบุญตักบาตร พิธีทางศาสนาของศาสนาต่าง ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ในห้วงก่อนหรือหลังวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ พิธีทำบุญตักบาตร กิจกรรมเจริญพระพุทธมนต์ กิจกรรมตามศาสนาที่ศาสนิกชนนับถือ กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่นใดที่เป็นการน้อมรำลึกในพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวง ที่ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชน ในห้วงก่อนหรือหลังวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ การจัดพิธีถวายพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เชิญชวนให้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ Read More »

วันสุขภาพจิต

วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม  เกิดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ โดยริเริ่มจาก สหพันธ์สุขภาพจิตโลก ( World Federation for Mental Health : WFMH) ร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International  Assosiation for Suiside Prevention : IASP) และองค์กรอื่นๆ ร่วมสนับสนุนโดยองค์กรอนามัยโลก (WHO ) ประวัติความเป็นมา เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม 1992 โดยรองเลขาธิการ (ในขณะนั้น) ริชาร์ด ฮันเตอร์  ( Richard Hunter) ในนามสมาพันธ์ และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ในปี 1994 โดยคำแนะนำของนายยูจีน โบดี้ ( Eugene Brody

วันสุขภาพจิตโลก Read More »

วันที่อยู่อาศัยโลก

วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชากรมนุษย์ ตามแผน 40/202 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1985 เพื่อรณรงค์ให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และร่วมกันแก้ปัญหาให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัย ในอนาคต เป็นการปฏิบัติกันทั่วโลก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1989 (พ.ศ.2529)องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) วันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้ องค์การสหประชาชาติกำหนดหัวข้อหลักในการรณรงค์เรื่อง “การจัดการขยะโดยเทศบาล” (Municipal Solid Waste Management) ซึ่งการขจัดขยะเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นที่ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการจัดการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน จะต้องมีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น สถานะการณ์ที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาติ เป้าหมายที่ 11 เรื่อง “การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัว มีภูมิต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสุขภาวะอย่างครอบคลุมและยั่งยืน” และวาระใหม่ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (New Urban Agenda) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน (Housing

วันที่อยู่อาศัยโลก Read More »

ไปรษณีย์โลก-worldpostday

ก่อนที่จะมี วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม มนุษย์ในอดีต ได้ใช้วิธีการติดต่อส่งสารกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ตีเกาะ เคาะไม้ จุดไฟ หรือส่งสัญญานควันไฟ การพัฒนาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้นจากเดิมที่เคยใช้วิธีท่องจำเสียงเป็นบทสวด เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาบอกต่อกันไปเป็นทอดๆ (Memorized messages) จนเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้แทนเสียงที่พูดจากัน การสื่อสารก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น  คนในยุคปัจจุบันถือสมาร์ตโฟนส่องดูข่าวสารโต้ตอบกันได้ในทันที แต่ในยุคสมัยอารยธรรมโบราณหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช เขาพกพานกพิราบติดตัวเพื่อใช้ในการส่งข้อความติดต่อสื่อสารกัน  ในรัชสมัยพระจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus, 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 14) แห่ง จักรวรรดิโรมัน ได้มีการจัดตั้งระบบติดต่อสื่อสารในกองพลต่างๆ โดยใช้พลม้าเร็วในการส่งข่าวสาร เดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลทรายและพักตามจุดที่ตั้งเฉพาะ เรียกว่า โพซิตัส (Positus) จึงเชื่อว่า นี่คือที่มาของคำว่า “post” (การไปรษณีย์) นั่นเอง ในยุคกลางพบว่ามีการใช้นกพิราบสื่อสาร (Pigeon post) ต่อมาในปี พ.ศ. 1848 อิตาลีและสเปน มีการ จัดตั้งบริษัทรับส่งข่าวสารขึ้นให้บริการตามเมืองสำคัญๆ ในยุโรป ส่วนเมืองที่ไม่มีบริการนี้ จะใช้วิธีการฝากจดหมาย และสิ่งของไปมากับพ่อค้า ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเดินทางทางทะเล การค้าขายเจริญมากขึ้น ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17

วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม Read More »

James Allison, Tasuku Honjo win Nobel

ศ. เจมส์ พี. แอลลิสัน จากมหาวิทยาลัยเทกซัสของสหรัฐฯ และ ศ. ทาซุกุ ฮอนโจ จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น คือสองนักวิจัยด้านวิทยาภูมิคุ้มกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ประจำปีนี้ จากผลงานการค้นพบวิธีรักษามะเร็งแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี 1995 ทั้งคู่ต่างได้มีการค้นพบโปรตีน CTLA-4 และ PD-1 ซึ่งสร้างปัญหาด้วยการทำตัวเป็น “เบรก” หยุดยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ต่อมาก็สามารถค้นพบกลไกที่สามารถปลดปล่อย “เบรก” นี้ได้เป็นผลสำเร็จ ช่วยปลดปล่อยห้เซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่มีอยู่ในตัวของผู้ป่วย สามารถเข้าหยุดยั้งเซลล์มะเร็งได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำมาสู่การคิดค้นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด ซึ่งพบว่าได้ผลดีอย่างยิ่งกับมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงและมะเร็งปอดแม้อยู่ในระยะลุกลาม ศ. แอลลิสันได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับบนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งโมเลกุลของตัวรับชนิดนี้จะยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย ศ. ฮอนโจได้ค้นพบโปรตีน PD-1 ในช่วงเวลาเดียวกัน วิธีรักษาโรคมะเร็งดังกล่าวซึ่งเรียกว่า Immune Checkpoint Therapy นับว่าแตกต่างจากวิธีรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบดั้งเดิมที่มุ่งโจมตีเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่วิธีใหม่นี้มุ่งไปจัดการกับโปรตีนบางอย่าง ที่ทำตัวเป็นเสมือน “เบรก” ยับยั้งไม่ให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของคนไข้เข้าสังหารเซลล์มะเร็งได้อย่างคล่องตัว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) และได้มีการอนุมัติให้แอนติบอดีต้านโปรตีน CTLA-4 และ PD-1 เป็นยาเพื่อการทดลองรักษามะเร็งมาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว

รางวัลโนเบล 2 ผู้ค้นพบโปรตีนวายร้าย “เบรก” ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมะเร็ง Read More »

วันสันติภาพสากล 21 กันยายน

วันสันติภาพสากล (International Day of Peace หรือ World Peace Day) ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่ออุทิศแก่สันติภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราศจากสงคราม ความหมายของสันติภาพ สันติภาพ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 กล่าวถึง ความหมายของสันติภาพไว้ดังนี้“สันติภาพ” หมายถึง ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกันรักษาสันติภาพของโลก (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.1206) คําว่า สันติภาพ มีความหมายทั้งในเชิงปฏิเสธ และยืนยันในความหมายปฏิเสธ สันติภาพไม่เพียงแต่หมายถึงสภาวะที่ไม่มีสงครามและความขัดแย้ง แต่ยังหมายถึงสภาวะที่ไม่มีความรุนแรง ในโครงสร้างสังคม เช่น ความอยุติธรรม ความไม่เสมอภาคในสังคมการละเมิดสิทธิมนุษยชนการทําลายความสมดุลย์ทางนิเวศวิทยา ในความหมายเชิงยืนยันสันติภาพหมายถึงสภาวะที่มี ความสามัคคีปรองดองเสรีภาพ และความยุติธรรม ดังนั้นคําว่า สันติภาพ จึงหมายรวมถึงสภาวะที่ไม่มีความขัดแย้งเข้ากับสภาวะที่มีความสามัคคี หากผู้สร้างสันติภาพไม่เห็นพ้องต้องกันในคําจํากัดความอันครอบคลุมทั้งสองประเด็นนี้ พวกเขาจะไม่สามารถร่วมระดมสรรพกําลังเพื่อการเสริมสร้างสันติภาพ ขณะที่ผู้รักสันติภาพจากประเทศพัฒนาแล้ว หมกมุ่นกับภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์ และให้ความสําคัญเป็นอันดับหนึ่งแก่ปัญหาการแข่งขันอาวุธ ผู้รักสันติภาพจากประเทศกําลังพัฒนา กลับให้ความสนใจปัญหาความอดอยากหิวโหย ความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้จะไม่มีจุดเน้นต่างกันเช่นนี้ ผู้สร้างสันติภาพ

วันสันติภาพสากล 21 กันยายน Read More »

วันประมงแห่งชาติ

วันประมงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] วันประมงแห่งชาติ มีที่มาจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาครทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2525  ถึงนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ซึ่งคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีจึงได้คำสั่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบเรื่องต่อให้กับกรมประมง เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้ยังขอให้ราชบัณฑิตยสถาน และกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม จากที่กรมประมงพิจารณาว่า อาชีพการประมงทางทะเลเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละมากมาย อีกทั้งยังต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยแจ้งข่าวสารทางทะเล ที่อาจเป็นภัยอันตรายต่อประเทศ ให้แก่หน่วยงานราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ จึงจัดให้มีวันสำคัญวันนี้ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง โดยจัดตั้งวันประมงขึ้น ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี มติคณะรัฐมนตรี — พุธที่ 7 มิถุนายน 2549

วันประมงแห่งชาติ 21 กันยายน Read More »