วันสำคัญประจำปี

สาระความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของไทย และของต่างประเทศ-Important day of thailand and abroad

อัลไซเมอร์โลก

องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ (Alzheimer’s Disease International : ADI) ประกาศให้ วันที่ 21 กันยายน เป็น “วันอัลไซเมอร์โลก” ตามชื่อผู้ค้นพบโรคอัลไซเมอร์  ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้น โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม คือ การสูญเสียความจำระยะสั้นร่วมกับความผิดปกติของการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ส่วนใหญ่เริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นเวลากว่า 111 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 ที่มีการค้บพบโรคอัลไซเมอร์ โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ซึ่งได้รายงานการรักษาผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปี คนหนึ่งชื่อ ออกุสต์ เด ที่ญาติๆ ของเธอได้ส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโรคจิต เพราะทุกคนได้ ลงความเห็นว่าเธอกำลังเสียสติ เนื่องจากมีอาการความจำเสื่อม และชอบรู้สึกอิจฉาริษยาผู้อื่นอยู่บ่อยๆ นายแพทย์อัลไซเมอร์ได้ทดสอบผู้ป่วยรายนี้ […]

วันอัลไซเมอร์โลก 21 กันยายน Read More »

วันรัฐวิสาหกิจไทย

จากการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 กำหนดให้วันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ 5 คือ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็น วันรัฐวิสาหกิจไทย ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งรัฐวิสาหกิจไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือร่วมใจของพนักงานรัฐวิสาหกิจระหว่าง รัฐกับองค์กร  รวมถึงเพื่อให้พนักงานรัฐวิสาหกิจได้มีกิจกรรมประกอบพิธีเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่านที่ทรงสถาปนาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขึ้นในประเทศไทย ประวัติรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจไทย คือ องค์กรของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ 50 เช่น บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ (สุนทร คุณชัยมัง, 2552 อ้างถึงใน พัชรวีร์ ชั้วทอง, 2554) รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุน (ผู้ถือหุ้น) รวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หน่วยงานใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน หากรัฐถือหุ้นมากกว่าร้อยละห้าสิบแล้วจะถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐวิสาหกิจมีจำนวนขึ้นลงไม่แน่นอนในปีที่รัฐเกิดถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละห้าสิบ (พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502) รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับ หน่วยธุรกิจเอกชน หรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา

วันรัฐวิสาหกิจไทย 20 กันยายน Read More »

หอคองคอเดีย

พิพิธภัณฑสถาน ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ว่า สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรม หรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ พิพิธภัณฑสถาน มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤต “พิพิธ” แปลว่า ต่างๆ กัน “ภัณฑ์” แปลว่า สิ่งของ เครื่องใช้ “สถาน” หมายถึง สถานที่ แหล่ง ที่ตั้ง ดังนั้น คำว่า “พิพิธภัณฑสถาน” จึงแปลว่า “สถานที่สำหรับรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เป็นต้น [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ไทย[/quote] ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 17 ทางด้านซีกโลกตะวันตก ได้มีการตื่นตัวในด้านการเก็บรวบรวม และสะสมทรัพย์สมบัติ และมรดกต่างๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่า สิ่งเก่าแก่ ที่หายาก และแปลกๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่และความมั่งคง ของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาตินั้นๆ ได้มีการรวบรวมหลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ

19 กันยายน วันพิพิธภัณฑ์ไทย Read More »

วันการศึกษานอกระบบ 8 กันยายน

การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education) คือ การศึกษาที่จัดให้กับประชาชน ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดพื้นฐานการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และและทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิตการจัดการศึกษานอกระบบ มีความยึดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้อง กับวิถีชีวิตและความต้องการของผู้เรียน (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย, ม.ป.ป.,  น. 4) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO  ได้กำหนดเอาวันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นวัน International Literacy Day ตามมติของที่ประชุมของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการจากประเทศทั่วโลก ว่าด้วยการขจัดการไม่รู้หนังสือ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเตหะราน เมื่อปี ค.ศ. 1965 เพื่อเป็นวันที่ระลึกการรู้หนังสือสากล และได้มีหนังสือเชิญชวนประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 โดยได้จัด เรื่อง The World Educational Crisis ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ หมายถึง

วันการศึกษานอกระบบ 8 กันยายน Read More »

วันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day)

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวันสำคัญที่เกี่ยวกับสุนัขก็คือ วันสุนัขโลก หรือวันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day) ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกปี ผู้คนต่างแชร์ภาพสุนัขของตน แต่ยังมีสุนัขไร้บ้านอีกมากมายที่ถูกทิ้งให้เผชิญชะตากรรม วันสุนัขโลก หรือวันสุนัขแห่งชาติ  ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 2004 หรือปีพ.ศ. 2547 โดย คอลลีน เพจ (Colleen Paige) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ (Pet & Family Lifestyle Expert) สร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้ผู้คนหันมา ให้ความสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ และส่งเสริมให้มีการนำมาเลี้ยงดู ตลอดจนให้ความเป็นอยู่ที่ดี เป็นเกียรติแก่สุนัข เพราะสุนัขมีความอดทน ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และเป็นมิตรที่ทำให้รู้สึก ปลอดภัยตลอดเวลา ซึ่งในวันที่ 26 สิงหาคม นับว่าเป็นวันสำคัญของคอลลีน เพจ เพราะเป็นวันแรกที่ครอบครัวของเธอ อนุญาตให้เธอเลี้ยงสุนัขตัวแรกที่มีชื่อว่า “เชลตี้” (Sheltie) ในขณะที่เธอมีอายุได้ 10 ขวบ นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ก่อตั้ง

วันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day) Read More »

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในปี พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์  จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม Read More »

วันสันติภาพไทย-ระลึกขบวนการเสรีไทย

คำว่า “สันติภาพ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่าไว้ ความสงบ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556) วันที่ 16 สิงหาคม  เป็น “วันสันติภาพไทย”  ประกาศสันติภาพโดย นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่อานันทมหิดล โดยแสดงเตจำนงแน่วแน่ของมวลราษฎรไทย และขบวนเสรีไทยที่ได้ต่อสู้เพื่อขับไล่ผู้รุกรานในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนสามารถรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติให้ประจักษ์แก่ชาวโลกและเป็นที่ยอมรับกับฝ่ายสัมพันธมิตร (ดุษฎี  พนมยงค์, 2550) ทุกวันที่ 16 สิงหาคม จะมีการจัดงานฉลองขึ้น เพื่อรำลึกถึงคุณูปการ คุณงามความดีของขบวนการเสรีไทย ที่ได้กระทำมาแล้ว ในระหว่างที่ ประเทศชาติอยู่ในช่วงวิกฤติ บทบาทอันสูงส่งนี้ย่อมได้รับการจารึกไว้ ในหน้าหนึ่งอันงดงามยิ่ง ของประวัติศาสตร์ไทย และจะเป็นอนุสาวรีย์ทางจิตใจที่จะเตือนใจให้ประชาชนชาวไทยรุ่นหลัง ได้ถือเอาเป็นแบบอย่าง และเป็นแรงพลังทางใจในอันที่จะระแวดระวังรักษาไว้ ซึ่งอุดมการณ์อันดีงาม ของการต่อต้านสงครามและการรุกรานทุกรูปแบบ การต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชอธิปไตยอย่างไม่ยอมจำนน และ เป็นการปลูกฝังให้ยุวชนรุ่นหลังรักสันติภาพ อีกทั้งเป็นการประกาศให้นานาประเทศ รับรู้เจตนารมณ์ ของประชาชนชาวไทย ที่จะยึดมั่นอุดมการณ์แห่งการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน และประชาคมโลก อย่างสันติและเอื้ออาทรต่อกัน “…สันติภาพ มิได้หมายความถึงการสงบนิ่งไม่กระทำการใดๆ เลย

16 สิงหาคม วันสันติภาพไทย Read More »

10 สิงหาคม วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

10 สิงหาคม วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นตำแหน่งที่มีอยู่คู่กับสังคมและการปกครองของไทย มาอย่างยาวนาน มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการรักษาความสงบเรียบร้อย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน การอำนวยความเป็นธรรม ดูแลความเป็นอยู่ ทุกข์สุขของราษฎร เป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ และปฏิบัติหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน หัวใจของภารกิจงานกรมการปกครองอยู่ที่อำเภอ และตำบล หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองระดับฐานรากที่เป็นจุดเชื่อมในการยึดโยงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหลอมรวมประชาชนให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ ช่วยเหลือบูรณาการการทำงานร่วมกับส่วนราชการ และทุกฝ่ายในพื้นที่ให้ประสบผลสำเร็จ ดัง พระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานในการอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 สิงหาคม 2505 (กรมการปกครอง. สำนักบริหารการปกครองท้องที่. ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน, ม.ป.ป.) ท่านเป็นผู้ที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับราษฎรในท้องที่ของท่านมาอย่างใกล้ชิด ย่อมเข้าถึงจิตใจและความต้องการของเขาเหล่านั้นได้ดีกว่าผู้ที่อยู่ห่างไกล ราษฎรย่อมจะต้องหวังพึ่งท่านเมืองมีความเดือดร้อน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึ่งหวังว่าท่านทั้งหลายจะเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ของเขาให้มาก และทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งแก่เขาสมกับที่เขาได้ไว้วางใจเลือกท่านมาเป็นหัวหน้า จงพยายามบำเพ็ญตนให้สมกับตัวอักษร ที่ตราหน้าหมวกเครื่องแบบของท่านที่ว่า “ระงับทุกข์ บำรุงสุข” [divide icon=”circle” width=”medium”] [quote

10 สิงหาคม วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน Read More »

วันรพี-บิดาแห่งกฎหมายไทย

วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวาระทางสุริยคติ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2417 พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน์ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#AA7F4C” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การศึกษา[/quote] พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อได้ทรงผ่านการศึกษาภาษาไทยเป็นเบื้องต้นแล้ว ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำนักครูรามสามิ และในพุทธศักราช 2426

วันรพี 7 สิงหาคม พระบิดาแห่งกฎหมายไทย Read More »

4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ

4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันสื่อสารแห่งชาติ (วันสื่อสารแห่งชาติ 2561, 2561)[/quote] การสื่อสารในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นขึ้นมา เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ทรง โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข” ขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และได้ทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนต่อมาในปี พ.ศ. 2441 จึงได้มีการวมทั้ง 2 กรมนี้เป็นกรมเดียวกัน โดยใช้ชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข” การสื่อสารในประเทศไทย นอกจากพิราบสื่อสารและม้าเร็วแล้ว การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในยุคนั้น ก็เพื่อนำมาสนับสนุนกิจการด้านงานความมั่นคงของประเทศ ซึ่งยุคนั้นเรียกได้ว่า เป็นยุคเริ่มล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างแย่งชิงผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วยกัน และอารยะธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ต่อมาในยุคพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) การสื่อสารได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนัก

4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ Read More »

วันสตรีไทย

วันสตรีไทย Thai Women Day ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี ทุกวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันสตรีไทย ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย ที่เปิดให้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสตรีไทยในสังคม เนื่องจากในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนแห่งมหามงคลสมัย ที่ปวงชนชาวไทยต่างก็ให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นเดือนเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม ประดุจแม่ของแผ่นดิน จึงได้เกิดการร่วมใจกันของภาครัฐและเอกชน องค์กรสตรีทั่วประเทศไทย ร่วมกันกำหนดให้เกิดวันสตรีไทยขึ้น เพื่อเป็นการผลักดันสิทธิและบทบาทของสตรีไทยในสังคมให้เทียบเท่ากัน เป็นการผลักดันกระบวนทัศน์ ความคิด ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสตรีไทย และภูมิปัญญา ที่เป็นของตนเองให้ผนึกกันก้าวไปในแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เพื่อยกระดับ สถานภาพชีวิตของสตรีไทย และร่วมกันพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้า ของประเทศ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้า จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานกำหนดให้วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันสตรีไทย” ตั้งแต่พุทธศักราช 2546 เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีวันที่มีความสำคัญคล้ายกันคือ วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี (ติวฟรี ดอทคอม, 2557) โดยจะมีการประกาศ ถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว

วันสตรีไทย Read More »

อรชร ยิ่งใหญ่-กาญจนี รักมั่น-ประเพณี-แห่เทียนพรรษา

วันเข้าพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8  ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7

วันเข้าพรรษา Read More »