การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561
องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน
ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.4 ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
คำอธิบายตัวบ่งชี้: สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ต้องมีระบบและกลไกการจัดหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ให้ครบถ้วนตามความจำเป็นและอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย และดำเนินการจัดเก็บอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ต้องมีการเพิ่มทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีระบบและต่อเนื่องให้สอดคล้องกับตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ในประเด็นสำคัญ คือ มีปริมาณที่เพียงพอ ทันสมัย และทันเวลาที่ต้องการใช้งาน โดยพิจารณาจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
นิยามศัพท์
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนรู้ทุกประเภท
ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หมายถึง ข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ
เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5 ข้อ ดังนี้
- มีระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับพันธกิจหน่วยงาน และสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
- มีการดำเนินงานตามระบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
- มีการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรฯ
- มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ทันเวลา มีความทันสมัยและเพียงพอ
- มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน | ||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
1 ข้อ | 2 ข้อ | 3 ข้อ | 4 ข้อ | 5 ข้อ |
หลักฐานที่ต้องการ:
- นโยบาย/แผนงานการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
- หลักฐานที่แสดงถึงผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในด้านทรัพยากรสารสนเทศ
- รายการทรัพยากรสารสนเทศ
- สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับพันธกิจหน่วยงาน และสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
ผลการดำเนินงาน: มหาวิทยาลัยสยามมีระบบบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นหรือ ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แบบรวมศูนย์ โดยมีสำนักทรัพยากรสารเทศ เป็นหน่วยงานหลัก ในการดำเนินการด้านห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น หรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้
สำนักฯ ได้กำหนด นโยบายและขั้นตอนจัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามขั้นตอนที่ได้กำหนดการจัดหาไว้ใน “ขั้นตอนการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูลออนไลน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์) ใหม่”ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในบันทึกข้อความเลขที่ 0304/015 โดยสำนักฯ ได้เริ่มมีการปฏิบัติงานตามขั้นตอนใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 (จากการปรับปรุงขั้นตอนเก่าที่เคยกำหนดไว้ใน “ขั้นตอนการซื้อหนังสือในอนาคต” ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558 จนถึง 20 กุมภาพันธ์ 2561)
ผู้รับผิดชอบ ในการจัดหา/จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ได้ให้ผู้ใช้บริการและอาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการจัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการเสนอแนะ/เสนอซื้อทรัพยากรด้วยตนเอง หรือเสนอผ่านทางคณบดีของแต่ละคณะทำการคัดเลือก เพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมะสม สำนักฯได้จัดช่องทางให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมหลายช่องทาง ได้แก่
1) การพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางแบบบันทึกข้อความของสำนักฯ ที่ได้จัดส่งไปยังคณบดีทุกคณะทั้งทางเอกสารและทางอีเมล์
2) อาจารย์ประจำหลักสูตรระบุรายชื่อหนังสือที่ต้องการใช้ประกอบการเรียนการสอนให้ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรฯ โดยตรงทาง “มคอ.3”
3) อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้รับบริการเสนอแนะให้ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรฯ ตามความต้องการโดยตรงทาง “แบบเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เพื่อจัดหาเข้าสำนักหอสมุด”
4) อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้รับบริการแนะนำสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการโดยตรงผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ของสำนักฯhttps://e-library.siam.edu ที่เมนู“บริการ”และเลือกที่ › เสนอซื้อทรัพยากรฯ
5) สำนักฯ ได้สอบถามความต้องการในด้านต่างๆ ที่ต้องการให้สำนักฯ จัดบริการเพิ่มเติม ซึ่งรวมข้อคำถามไว้ใน “ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการและความต้องการในด้านต่างๆ ที่ต้องการให้สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ จัดบริการเพิ่มเติม” ของ “แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561”
ข้อมูลหลักฐาน:
เอกสารหมายเลข 1.2 นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
เอกสารหมายเลข 22.1 บันทึกข้อความเลขที่ 0304/015 เรื่อง ขออนุมัติปรับปรุงขั้นตอนการจัดซื้อและประชาสัมพันธ์การเสนอแนะ/แนะนำสั่งซื้อทรัพยากรฯทางออนไลน์ ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
เอกสารหมายเลข 1.4 คำสั่งจากอธิการบดี ในการกำหนด “ขั้นตอนการซื้อหนังสือในอนาคต” ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558
เอกสารหมายเลข 6 แบบเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับผู้ใช้ เพื่อจัดหาเข้าสำนักหอสมุดฯ
เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯ https://e-library.siam.edu ที่เมนู“บริการ”และเลือกที่ › เสนอซื้อทรัพยากรฯ
เกณฑ์มาตรฐาน: 2. มีการดำเนินงานตามระบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
ผลการดำเนินงาน: ในปีการศึกษา 2561 สำนักฯได้วางแผนงานด้านทรัพยากรสารสนเทศ ไว้ใน แผนงานบริหารและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ: โดยได้จัดทำโครงการซึ่งอยู่ภายใต้แผนงาน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1.โครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ปีการศึกษา 2561”
2. โครงการ “การจัดทำภาพปกและสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ของหนังสือในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักทรัพยากรสารสนเทศ(OPAC)”
สำนักฯ ได้ดำเนินงานตามนโยบายและขั้นตอนที่กำหนดและตามที่ผู้ใช้บริการและอาจารย์จากคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรต่างๆ ได้เสนอแนะผ่านช่องทางต่างๆ ตามที่ระบุในข้อที่ 1. ซึ่งในปีการศึกษา 2561 สำนักฯได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาด้านทรัพยากรสารสนเทศ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,867,805.50 บาท (สองล้านแปดแสนหกหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยห้าบาทห้าสิบสตางค์) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักนำมาใช้ใน แผนงานบริหารและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ในโครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ปีการศึกษา2561” ซึ่งเป็นค่าจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศประเภทฐานข้อมูลออนไลน์มากที่สุด จำนวน 2,066,328.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 72.05 ทำให้มีทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้
- ทรัพยากรสารสนเทศในสำนักฯ: โดยรวมทุกประเภท มีจำนวนรวมทั้งสิ้นมากกว่า >7,456,149 รายการ มีจำนวนหนังสือ 210,764 เล่ม วารสาร 576 ชื่อเรื่อง หนังสือพิมพ์ 12 ชื่อเรื่อง สื่อโสตทัศนวัสดุ 15,654 รายการ ฐานข้อมูลออนไลน์ 48 ฐาน/ หรือถ้าจำแนกข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 7,229,731 รายการ
- ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมารวย: มีจำนวนหนังสือรวมทั้งสิ้น 2,316 เล่มและฐานข้อมูลจำนวน 2 ฐาน
นอกจากนี้ สำนักฯ ได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทางอ้อม เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันกับ กลุ่มเครือข่าย TU-THAIPUL ทรัพยากรสารสนเทศในเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน ในกลุ่มเครือข่าย TU-THAIPUL ในระยะเริ่มต้น มีสมาชิก 8 สถาบัน และในปีการศึกษา2561 มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 2 สถาบัน รวมสมาชิกกลุ่มทั้งหมดในปัจจุบันประกอบด้วย 10 สถาบันได้แก่ 1.หาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ 2.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 3.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 5.มหาวิทยาลัยรังสิต 6.มหาวิทยาลัยศรีปทุม 7.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 8.มหาวิทยาลัยสยาม 9.มหาวิทยาลัยมหิดล และ 10. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในกลุ่มนี้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันผ่านระบบ EDS (EBSCO Discovery Service) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดและในการใช้สารสนเทศร่วมกันได้อย่างกว้างขวาง สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีทรัพยากรสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในทุกสาขาวิชา/ครบทุกหลักสูตร และมีปริมาณมากเพียงพอต่อความต้องการ อาทิเช่น มีจำนวนหนังสือที่สามารถยืมระหว่างสถาบัน จำนวน 3,299,338 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2560) และมีฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางวิชาการที่สามารถขอใช้บริการ ILL ใน เครือข่าย TU-THAIPUL มากกว่า 200 ฐานข้อมูล
ข้อมูลหลักฐาน:
เอกสารหมายเลข 4 แผนงานบริหารและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
1) โครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ปีการศึกษา 2561”
2) โครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)”
เอกสารหมายเลข 5 สรุปแผนงานบริหารและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
1) สรุปโครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ปีการศึกษา2561”
2) สรุปโครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)”
เอกสารหมายเลข 9 “รายงานประจำปี 2561 –เว็บไซต์ของสำนักฯ https://e-library.siam.edu ที่เมนู“การบริหารงบประมาณ”และ “ทรัพยากรสารสนเทศ”
เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์สำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu ที่เมนู “10 University”
เกณฑ์มาตรฐาน: 3. มีการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศตามที่ได้จัดหาทั้งหมดในปีการศึกษา 2561 โดยได้วิเคราะห์เนื้อหา และลงรายการตามมาตรฐาน สากลในการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ ไว้ใน “ฐานข้อมูลทรัพยา กรสารสนเทศของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)” ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึง/สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดได้จาก WEB OPAC ที่เว็บไซต์สำนักฯ https://e-library.siam.edu ที่เมนู OPAC และสำนักฯ ยังได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ตามโครงการ “การจัดทำภาพปกและสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ของหนังสือในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ(OPAC)” เพื่อให้ “ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)” มี TAX ข้อมูลของภาพปกและสารบัญของหนังสือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในการคัดกรองหนังสือจากภาพปกและสารบัญของหนังสือ ให้ได้ตรงตามความต้องการก่อนที่จะมายืมตัวเล่มหนังสือที่สำนักฯ
ข้อมูลหลักฐาน:
เอกสารหมายเลข 4 แผนงานบริหารและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ –โครงการ “การจัดทำภาพปกและสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ของหนังสือในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักทรัพยากรสารสนเทศ(OPAC)”
เอกสารหมายเลข 5 สรุปแผนงานบริหารและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ–สรุปโครงการ “การจัดทำภาพปกและสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ของหนังสือในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักทรัพยากรสารสนเทศ(OPAC)”
เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์สำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu ที่เมนู OPAC
เกณฑ์มาตรฐาน: 4. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ทันเวลา มีความทันสมัยและเพียงพอ
ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้ ประเมินความเพียงพอและเหมาะสมของการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยได้ใช้เกณฑ์ประเมินความเพียงพอของทรัพยากรสารสนเทศด้วยเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สกอ. ซึ่งได้กำหนดสัดส่วนของจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนหนังสือไว้ที่1:15 และสัดส่วนของจำนวนอาจารย์ประจำต่อจำนวนหนังสือไว้ที่1:150 โดยสำนักฯสามารถจัดหาได้เพียงพอมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนหนังสือคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 คน ต่อหนังสือ 37.81 เล่ม (5574.41: 210,764) และสัดส่วนของจำนวนอาจารย์ประจำต่อจำนวนหนังสือ เท่ากับ 1 คน ต่อหนังสือ 390.30 เล่ม (540: 210,764) รวมทั้งเกณฑ์การประเมินจากสภาการพยาบาล ที่ได้กำหนดสัดส่วนของนักศึกษาพยาบาลต่อจำนวนหนังสือไว้ที่ 1 คน: 30 เล่ม ซึ่งสำนักฯ สามารถจัดหาได้เพียงพอตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ สำนักฯ ยังได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ(นักศึกษาและอาจารย์) ด้านทรัพยากรสาสนเทศ ทั้งทางด้านความเพียงพอเหมาะสมตรงกับความต้องการ และความทันสมัยของทรัพยากรสารสนทศ อีกด้วย ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ประจำปีการศึกษา 2561 มีค่าคะแนนระดับความพึงพอใจโดยรวมด้านทรัพยากรสารสนเทศอยู่ในระดับมาก (= 3.85) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของความพึงพอใจในเรื่องจำนวนทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ มีคะแนนอยู่ในระดับมาก 3.82 และมีเนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชา มีคะแนน 3.86 ส่วนความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมาก คือ 3.84 ทรัพยากรสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ มีคะแนนอยู่ในระดับมาก 3.86
ทั้งนี้ สำนักฯ ยังมิได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้บริการต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ทันเวลา ในปีการศึกษา 2561
ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 18.1 สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านต่างๆ ของสำนักทรัพยากรสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561
เกณฑ์มาตรฐาน: 5. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา
ผลการดำเนินงาน: ไม่ได้ดำเนินการ
ข้อมูลหลักฐาน: —
เกณฑ์การประเมิน
1 คะแนน | 2 คะแนน | 3 คะแนน | 4 คะแนน | 5 คะแนน |
1 ข้อ | 2 ข้อ | 3 ข้อ | 4 ข้อ | 5 ข้อ |
เป้าหมายของสำนัก : 5 ข้อ
ผลการดำเนินงาน : 4 ข้อ
ผลการประเมินตนเอง : 4 คะแนน