วันอาสารักษาดินแดน 10 กุมภาพันธ์

[quote arrow=”yes”]วันอาสารักษาดินแดน Volunteering Day[/quote]

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 ได้มีการออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวัน 10 กุมภาพันธ์ จึงได้มีการกำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี

[quote arrow=”yes”]ประวัติวันอาสารักษาดินแดน[/quote]

         ความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรม และจัดตั้งหน่วยบังคับบัญชาเตรียมไว้ตั้งแต่เวลาปกติ  เป็นหน้าที่ของประชาชนพลเมืองทุกคน ที่จะต้องร่วมมือช่วยเหลือและจะต้องได้รับการศึกษาอบรมเพื่อให้มีความรู้ในการที่จะป้องกันตนเองและประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นการป้องกันประเทศชาติในสถานการณ์สงครามปัจจุบัน 

วันอาสารักษาดินแดน ตราประจำกองกำลังอาสารักษาดินแดง
ตราประจำกองกำลังอาสารักษาดินแดง

กองอาสารักษาดินแดน (อส.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งวันอาสารักษาดินแดน 10 กุมภาพันธ์ เกิดขึ้นจากการก่อตั้ง ของชาวบ้านซึ่งไม่ใช่กำลังทหารที่มักออกมารวมตัวกันต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินในยามเกิดศึกสงคราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 จาก เพื่อให้เป็นกองพลอาสาสมัคร และอบรมข้าราชการ ประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ ซึ่งในสมัยก่อน มีประเทศไทยต้องเจอกับเหล่าศัตรู และการสงครามมาอย่างยาวนาน ทำให้ประชาชนผู้รักชาติ และแผ่นดิน ยอมพลีกาย ถวายชีวิตเพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทยนี้ไว้ให้ลูกหลานสืบไป โดยไม่คิดถึงชีวิตตัวเอง แม้จะไม่ใช้ทหารก็ตาม

 

จอมพล ป.พิบูลสงคราม-Field_Marshal_Plaek_Phibunsongkhram
ภาพ: จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

 

ในยุคสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย(คนที่ 3)  มีพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ.2481 และพระราชบัญญัติให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ.2484 โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการที่จะป้องกันรักษาประเทศชาติในเวลาสงคราม จากการที่พยายามจัดตั้งหน่วยพลเรือนอาสาให้เป็นระบบ โดยมีการนำแนวคิดจากต่างประเทศมาใช้ “วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จึงเป็นวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ” เพราะมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2497 เนื่องจากการดำเนินการด้านพลเรือนอาสามีรูปแบบและระบบที่ชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนามาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน

อาสารักษาดินแดน-ทหาร-soilder-volunteering

[quote arrow=”yes”]บทบาทและหน้าที่ ของอาสารักษาดินแดน[/quote]

           กองอาสารักษาดินแดน (อส.) เป็นกองกำลังอาสาสมัครสำรองทั้งหญิงและชาย ไว้ช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งในยามปกติและยามศึกสงคราม ภายใต้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 ได้กำหนดบทบาทภารกิจของสมาชิก อส.ไว้ตามนี้

  • บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติ

          หน้าที่ของอาสารักษาดินแดน นอกจากจะช่วยสอดส่องดูแลความสงบ เรียบร้อยของชาติบ้านเมืองแล้ว ยังป้องกันการกระทำของข้าศึก และช่วยบรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งหากมีเหตุการณ์หรือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ไฟไหม้ การช่วยเหลือจึงเป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • รักษาความสงบ

           กลุ่มอาสาสมัครจะทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งแม้จะไม่มีอำนาจเท่าเทียมเหมือนกับตำรวจ แต่ก็สามารถทำหน้าที่ ดูแล รักษาความสงบของบ้านเมืองได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาสถานที่สำคัญและ การคมนาคม เช่นอำนวยความสะดวกในเรื่องของการจราจร บนท้องถนนที่มีรถเข้าออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้การจราจรดีขึ้น ผู้ขับขี่รถยนต์ และคนเดินถนนปลอดภัยขึ้น

  • ป้องกันการจารกรรม รับฟังและรายงานข่าว

วันอาสารักษาดินแดน Volunteering day กองกำลังอาสารักษาดินแดงสมาชิก อส. สามารถเป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น ภารกิจในปัจจุบันที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือตำรวจแล้ว ยังทำความช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการและตัดทอนกำลังข้าศึกอีกด้วย

สมาชิก อส. ยังมีบทบาทหน้าที่ในด้านต่างๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการบริการประชาชน การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และการส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ

[quote arrow=”yes”]แนวทางสนับสนุนกิจกรรมวันอาสารักษาดินแดน[/quote]

         เพื่อระลึกถึงความกล้าหาญของหน่วยพลเรือนอาสา ผู้เสียสละเพื่อบ้านเมืองทั้งในภาวะปกติและภาวะสงคราม การได้สนับสนุน แนวทางการส่งเสริมให้มีอาสาสมัครเข้าร่วม เพื่อช่วยกันปกป้องและสอดส่องดูแลบ้านเมืองให้สงบสุข จะช่วยทำให้เหล่าอส. มีขวัญและกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

– จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ

        การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือส่งเสริมการศึกษาแก่บุตร สมาชิก อส. เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว และสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่

– ให้ความร่วมมือ

        เพราะเหล่าอาสาสมัครเหล่านี้ ต่างก็ได้รับการฝึกฝน ให้เตรียมพร้อมในการที่จะปกป้องบ้านเมืองทั้งในยามศึก และยามสงบ ซึ่งหลากหน้าที่ที่เหล่า อส.ได้ปฏิบัตินั้น ก็เพื่อส่วนรวมทั้งสิ้น การได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน ช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมร่วมกัน จะช่วยให้เกิดความสงบสุขต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก

– ให้ความช่วยเหลือ

        การช่วยแจ้งเบาะแสให้กับกลุ่มอาสาสมัคร ก็ถือว่าเป็นการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือ กับตำรวจได้อีกหนึ่งทาง เวลาที่เกิดเหตุร้าย ซึ่งกลุ่ม อส. ก็จะเข้าช่วยแก้ไขในเบื้องต้นก่อนที่จะประสานงานกับทางตำรวจและหน่วยราชการอื่นๆ ต่อไป

อาสารักษาดินแดน-volunteering

[quote arrow=”yes”]คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครเป็น อส.[/quote]

[dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]ต้องมีสัญชาติไทย ความรู้ไม่ต่ำกว่า ม.3 หรือเทียบเท่า
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]เป็นผู้ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วหรือผู้สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปและจะต้องมี
อายุ21-35ปีบริบูรณ์
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ร่างกายสมบูรณ์ ไม่เป็นภิกษุ สามเณร หรือนักบวช ไม่เป็นสมาชิกกองอาสากาชาด
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]ไม่เป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย หรือเป็นผู้ที่มีพฤติการณ์อันเป็นที่รังเกียจ ไม่เป็นคนเสเพลอันธพาล หรือเป็นผู้ติดยาเสพติด


[quote arrow=”yes”]เอกสารอ้างอิง[/quote]

วันอาสารักษาดินแดน

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: