วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-World Press Freedom Day

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างความตระหนักถึง ความสำคัญของเสรีภาพสื่อ และย้ำเตือนรัฐบาลทั่วโลกให้เคารพ และสนับสนุน เสรีภาพในการแสดงออก

[box]

ประวัติความเป็นมา

Windhoek-day วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-3 พฤษภาคมมวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกเสนอให้สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้เป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) ตามข้อเสนอของยูเนสโก เมื่อ พ.ศ. 2534 ซึ่งอ้างอิงจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ณ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาติในปี พ.ศ.2491 ที่บัญญัติเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในข้อที่ 19 ว่า “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับ และแจกจ่ายข่าวสาร และความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน”

 

Windhoek-day วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-3 พฤษภาคมม

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ยังเป็นวันเดียวกันกับวันครบรอบการประกาศ ปฏิญญาวินด์ฮุค (Windhoek Declaration) ซึ่งว่าด้วยการส่งเสริมสื่อมวลชนที่เป็นอิสระและหลากหลาย ที่เมืองวินด์ฮุค ประเทศนามิเบีย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ซึ่งช่วงเวลานั้นอยู่ในช่วงเกิดวิกฤตสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางเชื้อชาติ และการคุมคามการทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลของสื่อมวลชนอย่างรุนแรง

[/box]

[box]วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 2018 ในประเทศไทย[/box]

“วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) ในประเทศไทยภายใต้การบังคับใช้ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จำกัดเสรีภาพของการทำหน้าที่สื่อ เช่น ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 103/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 (ข้อ5)

ปลดล็อกคำสั่ง คสช ประชาธิปไตย-สื่อมวลชน
info-graphic ข้อเรียกร้องของสื่อสารมวลชนไทย ขอให้ปลดล็อกคำสั่ง คสช

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดกิจกรรมวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันพฤหัสบดีที่ 3 พ.ค. 2561 ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน(ตรงข้ามรพ.วชิระ) ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00น. ภายใต้สโลแกน “ปลดล็อกคำสั่งคสช. คืนเสรีภาพประชาชน” เพื่อสะท้อนสถานการณ์ของประเทศในด้านเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นของประชาชน ท่ามกลางบรรยากาศที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ห้วงเวลาของการเลือกตั้งที่มีการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่ได้รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน
(อ่านประกอบ: องค์กรสื่อแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อฯโลก “ปลดล็อกคำสั่ง คสช. ทวงคืนเสรีภาพประชาชน”)

ปลดล็อกคำสั่ง คสช. จากมติชนออนไลน์-mitichon
ภาพ งานเสวนาเกี่ยวกับการเรียกร้อง ปลดล็อกคำสั่ง คสช. ภาพโดยมติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/news/939795
ปลดล็อกคำสั่ง คสช-คืนเสรีภาพปะชาชน
ภาพป้าย รณรงค์เชิญชวนติด #ปลดล็อกคำสั่ง คสช #คืนเสรีภาพประชาชน

ภายในงานจะมีการกล่าวไว้อาลัยแก่สื่อมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ อ่านแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก และเสวนา หัวข้อ “ปลดคำสั่ง 0.4 เดินหน้าเสรีภาพประชาชน”  (คลิกดูประกาศ คำสั่ง: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) National Council for Peace and Order )  โดยเชิญวิทยาจากหลายภาคส่วน ได้แก่ นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายก้าวโรจน์ สุตาภักดีนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ นายพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความและหัวหน้าฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมเวทีเสวนา ดำเนินรายการโดย นายมานพ ทิพย์โอสถ ที่ปรึกษาฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และได้มีแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม 2561 “ปลดล็อกคำสั่ง คสช. ทวงคืนเสรีภาพประชาชน” เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาล คสช. และสื่อมวลชน นำไปพิจารณา ดังนี้

1. ให้รัฐบาลโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องระมัดระวังการออกกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน พร้อมกับ “โละ เลิก ล้าง” ประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ที่ลิดรอนเสรีภาพสื่อ ซึ่งก็คือเสรีภาพของประชาชนนั่นเอง เพื่อให้การดำเนินงานของสื่อสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกำลังเข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้งตามโรดแมป

2. ให้ คสช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยปราศจากการครอบงำ 3. เรียกร้องให้ประชาชนและผู้ใช้สื่อในทุกแพลตฟอร์ม ระมัดระวังในการเผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ข่าวปลอม (Fake News) ที่ไหลทะลักบนสื่อออนไลน์ และขอให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบ ควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้อยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

4. เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทุกแพลตฟอร์ม พึงตระหนักการทำหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อมวลชน และขอยืนหยัดพร้อมที่จะรับการถูกตรวจสอบจากสังคม ด้วยวิถีทางอันถูกต้อง ชอบธรรมด้วยกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-World Press Freedom Day

อื่นๆ เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

วันสำคัญ

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-World Press Freedom Day