วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เบาหวานโลก

โรคเบาหวานเป็นอีกโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาของสาธารณสุขไทย ทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของโรคเบาหวานและร่วมกันกำหนดให้มี วันเบาหวานโลก World Diabetes Day ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี   เป็นโรคที่พบว่าผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงมากโรคหนึ่งของประเทศ สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นเบาหวานในผู้สูงอายุ และ อัตราการเกิดโรคก็มีมากในเด็กและวัยรุ่น เนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ชีวิตที่เร่งรีบ อาหาร เร่งด่วน หรืออาหารขยะ โดยทุก ๆ 200 คน จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ 5 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.5 และทุก ๆ ปีจะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นถึงปีละ 5 ล้านคนทั่วโลก รู้จักโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม คือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากขาดฮอร์โมนอินชูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานของอินซูลินลดลง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการทำลาย การเสื่อมสมรรถภาพ และการล้มเหลวในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เป็นผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ได้แก่  ไต ปลายประสาท หัวใจ และหลอดเลือด อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน เป็นสารที่ผลิตโดยตับอ่อนทำหน้าที่นำน้ำตาลกูลโคสจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ของเนื้อเยื้อและอวัยวะต่าง […]

โรคเบาหวาน Read More »

วันพยาบาลแห่ง่ชาติ-วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชาวไทยผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ชนบท

วันพยาบาลแห่งชาติ ๒๑ ตุลาคม Read More »

โรคกระดูกพรุน ดูแลป้องกันได้แต่เนิ่นๆ

ปัจจุบันโรคกระดูกพรุนนับเป็นโรคกระดูกเมตาบอลิก (Metabolic bone disease) ที่พบบ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบว่าในปีหนึ่ง ๆ มีผู้สูงอายุนับล้านคนที่กระดูกสะโพกหักจากการหกล้มธรรมดา และอีกนับล้านคนมีกระดูกส่วนอื่นหักประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่กระดูกหัก 1 ครั้งจากโรคกระดูกพรุนมักเกิดกระดูกหักซ้ำอีกทั้งหลายโรงพยาบาลเมื่อเจอผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกก็ละเลยการตรวจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีโรคกระดูกพรุนหรือไม่ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกยังไม่เคยตรวจหรือรักษาโรคกระดูกพรุน ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกโดยการริเริ่มของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation, IOF) จึงได้กำหนดวันกระดูกพรุนโลกขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโรคกระดูกพรุน ทั้งด้านการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งปัจจุบันมี 90 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมกิจกรรมรณรงค์นี้ (วิรชัช สนั่นศิลป์, 2555)  โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักว่า 1. กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนไม่ใช่อุบัติเหตุ 2. การที่กระดูกหักถือว่าเป็นสัญญาณเตือน หักหนึ่งครั้งทำให้หักซ้ำได้อีก 3. ถ้ากระดูกหักเกิดขึ้นเมื่ออายุเกินห้าสิบ จงไปตรวจและรับการรักษา คำจำกัดความของโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุน คือ โรคของกระดูกที่มีคุณลักษณะสำคัญสองประการ คือ มีมวลกระดูกลดลงและมีโครงสร้างทางจุลภาคภายในของเนื้อเยื่อกระดูกเสื่อมสลายลง  ยังผลให้กระดูกมีความเปราะเพิ่มขึ้นและทำให้กระดูกหักได้ง่าย (ศุภศิลป์ สุนทราภา, 2545, น. 228)

โรคกระดูกพรุน ดูแลป้องกันได้แต่เนิ่นๆ Read More »

วันมะเร็งเต้านมโลก

วันมะเร็งเต้านมโลก World Breast Cancer Day ตรงกับวันที่ 7 เดือนตุลาคม ของทุกปี จากสถิติทั้งในไทยและทั่วโลก มะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับ 1 หรือ 2 ของโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงโดยเฉพาะผู้หญิงที่โสดหรือแต่งงานมีลูกหลังอายุ 35 ปี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุสถิติว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด ส่วนรายใหม่ประมาณ 20,000 คนต่อปีหรือ 55 คนต่อวัน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในขณะที่ผู้หญิงอเมริกัน คาดการณ์ว่าเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมราว 40,450 คน ในปี 2015 ส่วนในปี 2016 พบผู้ป่วยหญิงอเมริกันรายใหม่ที่มีการแพร่เชื้อของมะเร็งเต้านมจำนวน 246,660 คน และที่ยังไม่มีการแพร่เชื้อมะเร็งประมาณ 61,000 คน รู้จักกับเต้านม โครงสร้างเต้านม ประกอบขึ้นจาก ต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม รูปร่างคล้ายติ่งหูรวมตัวเป็นกระจุกอยู่ที่กลางเต้านมแต่ละข้าง โดยมีไขมันล้อมรอบกลายเป็นเต้านมแต่ละข้าง ในต่อมน้ำนมแต่ละต่อม มีถุงน้ำนมเรียงตัวกันเป็นพูอยู่ภายในเพื่อสะสมน้ำนมที่ผลิตได้ ซึ่งต่อมน้ำนมทุกต่อมมีท่อน้ำนมต่อเชื่อมไปออกที่ปลายหัวนม เป็นทางระบายออกนอกร่างกายให้ทารกดื่มกิน ทั้งหมดถูกหล่อเลี้ยงด้วยเลือดแดงจากผนังอก และท่อน้ำเหลืองที่เชื่อมไปถึงต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม

วันมะเร็งเต้านมโลก 7 ตุลาคม Read More »

วันปลอดรถ

วันปลอดรถโลก World Car Free Day-แถลงข่าวจัดงาน Bangkok Car Free Day 2019  ณ ลานสแควร์ A ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562

วันปลอดรถโลก World Car Free Day 2019 Read More »

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม(Global Hand Washing Day) ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2008 ณ เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็น พร้อมกันนี้ได้มีการกำหนดให้ปี 2008 เป็นสากลแห่งการรักษาอนามัยด้วย เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลก เห็นถึงความสำคัญของการล้างมือด้วยสบู่ว่า จะช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ รวมถึงต้องการสร้างวัฒนธรรม การล้างมือให้สะอาดถูกสุขอนามัยขึ้นทั่วโลก วันล้างมือโลก จะช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือ สามารถลดโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 50% โดย องค์การยูนิเซฟ ระบุว่า ในแต่ละปีนั้นมีเด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิตจากโรคท้องร่วงถึงเกือบ 2 ล้านคน และจากโรคปอดบวมอีกราว 2 ล้านคน ซึ่งการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ถึง 50% และจากโรคปอดบวมได้อีกราว 25% ดังนั้น หัวใจหลักของ วันล้างมือโลก จึงต้องการมุ่งไปยังกลุ่มเด็กนักเรียน เพื่อหวังจะเพิ่มจำนวนเด็ก ๆ

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม Read More »

วันสุขภาพจิต

วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม  เกิดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ โดยริเริ่มจาก สหพันธ์สุขภาพจิตโลก ( World Federation for Mental Health : WFMH) ร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International  Assosiation for Suiside Prevention : IASP) และองค์กรอื่นๆ ร่วมสนับสนุนโดยองค์กรอนามัยโลก (WHO ) ประวัติความเป็นมา เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม 1992 โดยรองเลขาธิการ (ในขณะนั้น) ริชาร์ด ฮันเตอร์  ( Richard Hunter) ในนามสมาพันธ์ และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ในปี 1994 โดยคำแนะนำของนายยูจีน โบดี้ ( Eugene Brody

วันสุขภาพจิตโลก Read More »

วันที่อยู่อาศัยโลก

วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชากรมนุษย์ ตามแผน 40/202 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1985 เพื่อรณรงค์ให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และร่วมกันแก้ปัญหาให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัย ในอนาคต เป็นการปฏิบัติกันทั่วโลก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1989 (พ.ศ.2529)องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) วันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้ องค์การสหประชาชาติกำหนดหัวข้อหลักในการรณรงค์เรื่อง “การจัดการขยะโดยเทศบาล” (Municipal Solid Waste Management) ซึ่งการขจัดขยะเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นที่ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการจัดการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน จะต้องมีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น สถานะการณ์ที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาติ เป้าหมายที่ 11 เรื่อง “การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัว มีภูมิต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสุขภาวะอย่างครอบคลุมและยั่งยืน” และวาระใหม่ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (New Urban Agenda) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน (Housing

วันที่อยู่อาศัยโลก Read More »

อัลไซเมอร์โลก

องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ (Alzheimer’s Disease International : ADI) ประกาศให้ วันที่ 21 กันยายน เป็น “วันอัลไซเมอร์โลก” ตามชื่อผู้ค้นพบโรคอัลไซเมอร์  ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้น โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม คือ การสูญเสียความจำระยะสั้นร่วมกับความผิดปกติของการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ส่วนใหญ่เริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นเวลากว่า 111 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 ที่มีการค้บพบโรคอัลไซเมอร์ โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ซึ่งได้รายงานการรักษาผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปี คนหนึ่งชื่อ ออกุสต์ เด ที่ญาติๆ ของเธอได้ส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโรคจิต เพราะทุกคนได้ ลงความเห็นว่าเธอกำลังเสียสติ เนื่องจากมีอาการความจำเสื่อม และชอบรู้สึกอิจฉาริษยาผู้อื่นอยู่บ่อยๆ นายแพทย์อัลไซเมอร์ได้ทดสอบผู้ป่วยรายนี้

วันอัลไซเมอร์โลก 21 กันยายน Read More »

thai-environmental-health-day

4 กรกฎา วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ในโอกาสวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 เป็นวันคล้ายวันประสูติศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนาพระสยามเทวาธิราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ได้โปรดอภิบาลประทานพรให้ทรงพระเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ทรงพระเกษมสำราญ ทรงอุดมด้วย พระพลานามัยปราศจากภยันตรายใดๆ ทั้งปวง ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ และเทิดพระเกียรติศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีปณิธานอันแน่วแน่ มั่นคงต่อการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ขอพระราชทานพระอนุญาต กำหนดให้วันคล้ายวันประสูติของ ใต้ฝ่าพระบาท วันที่ ๔ กรกฎาคมของทุกปี เป็น “วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย” โดยมติคณะรัฐมนตรีได้ผ่านความเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงงาน อันเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่วงการอนามัยสิ่งแวดล้อม ทรงมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่อารยประเทศ จนได้รับการยกย่องและได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัลเกียรติคุณจากมหาวิทยาลัย องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันที่มีชื่อเสียง ทั่วโลก การทรงงานของใต้ฝ่าพระบาทด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงโรคภัยอันตราย จากสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

4 กรกฎาคม วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย Read More »

วันต่อต้านยาเสพติดโลก

วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน 2561 (International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหมายความถึงยาเสพติด ยึดถือเป็นวันสำคัญประจำปีมาตั้งแต่การประกาศเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่นโดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ก่อนเกิดสงครามฝิ่นในประเทศจีน ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติด และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking I) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26

วันต่อต้านยาเสพติดโลก Read More »

17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก

โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตายก่อนวัยอันควร และเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงจะเรียกอีกอย่างว่า ฆาตกรเงียบ (Silent killer) เนื่องจากโรคนี้มักไม่มีสัญญาณเตือนถึงอาการและการแสดงของโรค ผู้คนจำนวนมากเป็นโรคนี้โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคไต องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตายทั่วโลกสูงถึง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทั่วโลกพบว่ามีจำนวนเกือบถึงพันล้านคน ซึ่งสองในสามจะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และพบว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 1 คน ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังพบว่าวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ประมาณ 4 ใน 10 คน จะมีความดันโลหิตสูงและในหลายๆประเทศพบว่า 1 ใน 5 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และมีการประมาณว่า 9 ใน 10 ของวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุไปจนถึง 80 ปี จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์, ม.ป.ป.)

17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก Read More »